วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 หลักภาษาไทย





                         




อักขระวิธี    ได้แก่  อักษร  แปลว่า  ตัวหนังสือ



ลักษณะอักษร
         เสียงในภาษาไทย  มีอยู่  3  อย่าง คือ
1. เสียงแท้    ได้แก่  สระ
2. เสียงแปร   ได้แก่  พยัญชนะ

3. เสียงดนตรี  ได้แก่  วรรณยุกต์

  สระ

สระในภาษาไทย  ประกอบด้วยรูปสระ21 รูป  และเสียงสระ  32 เสียง

 พยัญชนะ

รูปพยัญชนะ   มี 44 ตัว  คือ



1. อักษรสูง  มี  11  ตัว  คือ   ข  ข  ฉ  ฐ  ถ  ผ  ฝ  ศ  ษ  ส  ห 
2. อักษรกลาง  มี 9   ตัว  ก  จ  ฎ  ฏ  ด  ต  บ  ป  อ
3. อักษรต่ำ   มี  24  ตัว  คือ 
      3.1  อักษรคู่  คืออักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง มี 14  ตัว   คือ   ค   ค   ฆ  ช  ฌ ซ  ฑ  ฒ ท ธ  พ  ภ  ฟ  ฮ
      3.2 อักษรเดี่ยว   คืออักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่กัน  มี  10  ตัว คือ   ง  ญ  ณ  น  ม  ย  ร  ล  ว  ฬ

วรรณยุกต์



วรรณยุกต์  มี  4  รูป  ได้แก่

              1. ไม้เอก
              2. ไม้โท
              3. ไม้ตรี
              4. ไม้จัตวา

เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย  มี   5  เสียง
               1. เสียงสามัญ   คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา  มา  ทา  เป็น  ชน 
               2. เสียงเอก  ก่า  ข่า  ป่า  ดึก   จมูก  ตก  หมด

               3. เสียงโท  เช่นก้า  ค่า   ลาก  พราก  กลิ้ง  สร้าง
               4. เสียงตรี  เช่นก๊า  ค้า  ม้า  ช้าง  โน้ต  มด
               5. เสียงจัตวา  เช่น  ก๋า  ขา  หมา  หลิว  สวย  หาม  ปิ๋ว   จิ๋ว

 คำเป็นคำตาย


คำเป็น  คือ  คือเสียงที่ประสมทีฆสระ (สระเสียงยาว)  ในแม่ ก  กา  เช่น  กา  กีกื  กู
คำตาย  คือ  คือเสียงที่ประสมรัสสระ (สระเสียงสั้น)  ในแม่ ก  กา  เช่น  กะ  กิ  กุ  

คำสนธิ   คือ   การต่อคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้ติดเนื่องกัน   โดยมีการเพิ่มสระในแทรกระหว่างคำ   หรือเพิ่มคำเพื่อติดต่อกันให้สนิท   เช่น

            ปิตุ + อิศ                                  เป็น                              ปิตุเรศ


            ธนู + อาคม                              เป็น                              ธันวาคม



            มหา + อิสี                                เป็น                              มเหสี


คำสมาส   คือ   การนำคำประสมตั้งแต่   2   คำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวคำที่ใช้นำมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต   เมื่อรวมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปก็มี,
                  ความหมายคงเดิมก็มี   เช่น

             ราช + โอรส                            เป็น                             ราชโอรส

             สุธา + รส                                เป็น                             สุธารส

คช + สาร                               เป็น                              คชสาร

คำเป็น   คือ   พยางค์ทีประสมกับสระเสียงยาวในแม่   ก   กา   และพยางค์ที่มีตันสะกดใน   แม่  กน   กง   กม   เกย   และสระ   อำ   ไอ   ใอ   เอา

คำตาย   คือ   พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่   ก   กา   กก   กด   กบ   แต่ยกเว้นสระ   อำ   ไอ   ใอ   เอา

อักษรควบ   คือพยัญชนะ   2   ตัว   ควบกล้ำอยู่ในสระตัวเดียวกัน   เช่น   เพลา   เขมา
อักษรควบแท้   คือคำที่ควบกับ   ร   ล   ว   เช่น    ควาย  ไล่  ขวิด  ข้าง  ขวา             คว้า  ขวาน  มา  ไล่  ขว้าง ควาย  ไป
    ควาย  ขวาง  วิ่ง วน  ขวักไขว่        กวัดแกว่ง ขวานไล่  ล้ม  คว่ำ ขวาง ควาย.

อักษรควบไม่แท้    คือ   อักษร   2   ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว   ร   แต่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง   ร   หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น
เช่น   เศร้า   ทราย   จริง   ไซร้   ปราศรัย   สร้อย   เสร็จ   เสริม   ทรง   สร้าง   สระ
อักษรนำ   คือ   พยัญชนะ   2   ตัวรวมอยู่ในสระเดียวกัน   บางคำออกเสียงร่วมกันเช่น   หนู   หนอ   หมอ   หมี   อย่า   อยู่   อย่าง   อยาก   หรือบางคำออกเสียงเหมือน   2   พยางค์   เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ารวมกับตัวหลัง   แต่พยัญชนะ   2   ตัว นั้นประสมกันไม่สนิทจึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะดังออกมาแผ่ว ๆ    เช่น

กนก   ขนม   จรัส   ไสว   ฉมวก   แถลง   ฝรั่ง   ผนวก

คำมูล   คือ   คำที่เราตั้งขึ้นเฉพาะคำเดียว   เช่น   ชน   ตัก   คน   วัด   หัด   ขึ้น   ขัด 

คำประสม   คือ   การนำคำมูลมาประสมกันเป็นอีกคำหนึ่ง   เช่น


แม่ + น้ำ     =  แม่น้ำ  แปลว่า   ทางน้ำไหล       

หาง + เสือ   =   หางเสือ แปลว่า   ที่บังคับเรือ

ลูก + น้ำ       =      ลูกน้ำ

พยางค์   คือ   ส่วนหนึ่งของคำหรือหน่วยเสียงประกอบด้วยสระตัวเดียวจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้   พยางค์หนึ่งมีส่วนประสมต่าง ๆ คือ

1. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์   เช่น   ตา   ดี   ไป   นา

2. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด  เช่น   คน   กิน   ข้าว   หรือพยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวการันต์   เช่น   โลห์   เล่ห์

3.  พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์     เช่น   รักษ์   สิทธิ์   โรจน์

พยางค์แบบนี้เรียกว่า   ประสม  5   ส่วน

วลี   คือ   กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันอย่างมีระเบียบ   และมีความหมายเป็นที่รู้กัน   เช่น

การเรียนหลักภาษาไทยมีประโยชน์มาก

ประโยค   คือ   กลุ่มคำที่นำมาเรียงเข้าด้วยกันแล้วมีใจความสมบูรณ์   เช่น


1. ประโยค   2   ส่วน                 ประธาน     +     กริยา

                                                     นก                 บิน
2. ประโยค   3   ส่วน                 ประธาน     +     กริยา     +     กรรม

                                                      ปลา                 กิน                มด





จัดทำโดย

นางสาว ภัทราภรณ์ รักนุกูล เลขที่ 16 ม.6/1




หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ 2 อักษรต่ำ - สูง สระ วรรณยุกต์




วรรณยุกต์ในภาษาไทย นับเป็นเสียงดนตรีตามตำราภาษาไทยสมัยโบราณ โดยแบ่งออกเป็น 5 เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี และจัตวา และมีเครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งเรียกว่า "วรรณยุกต์" ด้วยเช่นกัน โดยที่เครื่องหมายวรรณยุกต์ อาจไม่ได้บ่งบอกถึงเสียงวรรณยุกต์นั้นเสมอไป เว้นแต่เมื่อกำกับคำเป็น ที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง

เสียงวรรณยุกต์ไทยตามหลักภาษาศาสตร์ แบ่งได้ดังนี้




เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)                                               
เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)

รูปวรรณยุกต์

เครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาไทย มี 4 รูป ดังนี้

ไม้เอก (-่), ไม้โท (-้), ไม้ตรี (-๊) และ ไม้จัตวา (-๋)

อย่างไรก็ตาม ในจารึกสมัยโบราณ เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เพียง 2 รูป คือ ไม้เอก (-่) และไม้โท (-๋) เช่น น๋อง (น้อง), ห๋า (ห้า)

การผันเสียงวรรณยุกต์

โดยทั่วไปเสียงพยางค์หนึ่งในภาษาไทย สามารถผันได้ 5 เสียงวรรณยุกต์ แต่ในภาษาเขียน จะมีกฎเกณฑ์การผันที่ตายตัว ดังนี้

หมู่อักษร-คำเป็นคำตาย
 เสียงสามัญ
 เสียงเอก
 เสียงโท
 เสียงตรี
 เสียงจัตวา




คำตายของอักษรกลางและอักษรสูง ไม่ว่าสระจะเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ผันวรรณยุกต์ตามรูปแบบเดียวกัน เว้นแต่คำตายของอักษรต่ำ เมื่อเป็นสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวจะผันคนละแบบ


อักษรต่ำและอักษรสูงไม่สามารถผันให้ครบ 5 เสียงได้ จึงมักจะใช้อักษรเสียงเดียวกันจากอีกหมู่หนึ่งมาใช้เป็นอักษรนำ โดยมีอักษรสูงนำ (ยกเว้นอักษร อ ซึ่งเป็นอักษรกลาง สามารถนำ อักษร ย ได้) เช่น นา หน่า น่า น้า หนา, มี หมี่ มี่ มี้ หมี





จัดทำโดย


นางสาว ภัทราภรณ์ รักนุกูล เลขที่ 16 ม.6/1





หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

บทที่3  การเขียนสะกดคำ





          ระบบการเขียนภาษาไทยเป็นระบบที่มีตัวอักษรแทนเสียง ๓ ประเภท คือเสียงสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ ประกอบกันเป็นพยางค์และคำ ในการเขียนคำให้ถูกต้องจำเป็นต้องศึกษาเรื่องการใช้ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ตลอดจนการเขียนคำในลักษณะพิเศษต่างๆ เช่นการเขียนชื่อเฉพาะ การเขียนราชทินนาม การเขียนคำยืมจากภาษาต่างประเทศ การเขียนอักษรย่อ การเขียนชื่อเมือง ชื่อประเทศและการใช้เครื่องหมายประกอบคำ เครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เขียนคำได้ถูกต้องคือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานซึ่งทางราชการประกาศให้ถือเป็นแบบอย่างในการเขียน



การใช้สระ


          การใช้สระในการเขียนคำที่ปรากฏในคำไทยนั้นมีข้อสังเกตดังนี้

๑. การประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์

                   คำที่ออกเสียง อะในภาษาไทยมีทั้งที่ปรากฏรูปสระ เรียกว่าประวิสรรชนีย์และไม่ปรากฏ      รูปสระที่เรียกว่าไม่ประวิสรรชนีย์

                   คำที่ประวิสรรชนีย์ ได้แก่

๑)      คำพยางค์เดียวที่ออกเสียงสระอะให้ประวิสรรชนีย์ เช่น กะ จะ นะ คะ ละ

๒)      พยางค์ท้ายของคำเมื่อออกเสียงสระอะให้ประวิสรรชนีย์ เช่น ศิลปะ ธุระ โลหะ อิสระ อมตะ สรณะ หิมะ ลักษณะ อาสนะ แป๊ะซะ ซาบะ ซากุระ ฯลฯ

๓)      คำเดิมที่เป็นคำสองพยางค์ ต่อมาเกิดการกร่อนเสียงหน้าเป็นเสียงอะ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น

                             หมากพร้าว       -         มะพร้าว          หมากม่วง         -         มะเขือ

                             หมากเขือ         -         มะเขือ            หมากซาง         -         มะซาง

                             หมากงั่ว          -         มะงั่ว             หมากขาม        -         มะขาม
 
                             ต้นแบก           -         ตะแบก           ต้นเคียน          -         ตะเคียน

                             ตาวัน             -         ตะวัน             ตาปู              -         ตะปู

                             สายดือ           -         สะดือ             สายดึง            -         สะดึง

                             เฌอเอม           -         ชะเอม            คำนึง             -         คะนึง

                             ฉันนั้น            -         ฉะนั้น            ฉันนี้              -         ฉะนี้

๔)      คำอัพภาสที่กร่อนมาจากคำซ้ำและมักใช้ในคำประพันธ์ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น

     ริกริก             -         ระริก             แย้มแย้ม          -         ยะแย้ม

     ครื้นครื้น          -         คะครื้น           ฉาดฉาด          -         ฉะฉาด

     วับวับ             -         วะวับ             วาบวาบ          -         วะวาบ

๕)      คำที่พยางค์หน้าออกเสียง กระ ประ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น

                             กระษัย           กระษาปณ์       กระเสียร         กระหนก

                             ประกาศ                   ประณีต           ประจักษ์         ประคอง

                             ประสิทธิ์          ประสาท                   ประมาท          ประเดิม

๖)      คำที่พยางค์หน้าออกเสียง ระ ที่มาจากภาษาเขมร ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น ระเบียน ระบำ ระเบียบ ระเมียร ระลอก ระมาด

๗)      คำที่มาจากภาษาจีน ญี่ปุ่น ชวาและอื่นๆ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น

     บะหมี่            ตะหลิว           บะจ่าง            ประไหมสุหรี

     มะเดหวี          ประหนัน         ระตู               มะงุมมะงาหรา

     กะละมัง          มะกะโท          ตะเกิง            กะละแม


อะแซหวุ่นกี้      มะตะบะ         ฯลฯ







จัดทำโดย


นางสาว ภัทราภรณ์ รักนุกูล เลขที่ 16 ม.6/1