วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

บทที่3  การเขียนสะกดคำ





          ระบบการเขียนภาษาไทยเป็นระบบที่มีตัวอักษรแทนเสียง ๓ ประเภท คือเสียงสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ ประกอบกันเป็นพยางค์และคำ ในการเขียนคำให้ถูกต้องจำเป็นต้องศึกษาเรื่องการใช้ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ตลอดจนการเขียนคำในลักษณะพิเศษต่างๆ เช่นการเขียนชื่อเฉพาะ การเขียนราชทินนาม การเขียนคำยืมจากภาษาต่างประเทศ การเขียนอักษรย่อ การเขียนชื่อเมือง ชื่อประเทศและการใช้เครื่องหมายประกอบคำ เครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เขียนคำได้ถูกต้องคือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานซึ่งทางราชการประกาศให้ถือเป็นแบบอย่างในการเขียน



การใช้สระ


          การใช้สระในการเขียนคำที่ปรากฏในคำไทยนั้นมีข้อสังเกตดังนี้

๑. การประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์

                   คำที่ออกเสียง อะในภาษาไทยมีทั้งที่ปรากฏรูปสระ เรียกว่าประวิสรรชนีย์และไม่ปรากฏ      รูปสระที่เรียกว่าไม่ประวิสรรชนีย์

                   คำที่ประวิสรรชนีย์ ได้แก่

๑)      คำพยางค์เดียวที่ออกเสียงสระอะให้ประวิสรรชนีย์ เช่น กะ จะ นะ คะ ละ

๒)      พยางค์ท้ายของคำเมื่อออกเสียงสระอะให้ประวิสรรชนีย์ เช่น ศิลปะ ธุระ โลหะ อิสระ อมตะ สรณะ หิมะ ลักษณะ อาสนะ แป๊ะซะ ซาบะ ซากุระ ฯลฯ

๓)      คำเดิมที่เป็นคำสองพยางค์ ต่อมาเกิดการกร่อนเสียงหน้าเป็นเสียงอะ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น

                             หมากพร้าว       -         มะพร้าว          หมากม่วง         -         มะเขือ

                             หมากเขือ         -         มะเขือ            หมากซาง         -         มะซาง

                             หมากงั่ว          -         มะงั่ว             หมากขาม        -         มะขาม
 
                             ต้นแบก           -         ตะแบก           ต้นเคียน          -         ตะเคียน

                             ตาวัน             -         ตะวัน             ตาปู              -         ตะปู

                             สายดือ           -         สะดือ             สายดึง            -         สะดึง

                             เฌอเอม           -         ชะเอม            คำนึง             -         คะนึง

                             ฉันนั้น            -         ฉะนั้น            ฉันนี้              -         ฉะนี้

๔)      คำอัพภาสที่กร่อนมาจากคำซ้ำและมักใช้ในคำประพันธ์ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น

     ริกริก             -         ระริก             แย้มแย้ม          -         ยะแย้ม

     ครื้นครื้น          -         คะครื้น           ฉาดฉาด          -         ฉะฉาด

     วับวับ             -         วะวับ             วาบวาบ          -         วะวาบ

๕)      คำที่พยางค์หน้าออกเสียง กระ ประ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น

                             กระษัย           กระษาปณ์       กระเสียร         กระหนก

                             ประกาศ                   ประณีต           ประจักษ์         ประคอง

                             ประสิทธิ์          ประสาท                   ประมาท          ประเดิม

๖)      คำที่พยางค์หน้าออกเสียง ระ ที่มาจากภาษาเขมร ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น ระเบียน ระบำ ระเบียบ ระเมียร ระลอก ระมาด

๗)      คำที่มาจากภาษาจีน ญี่ปุ่น ชวาและอื่นๆ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น

     บะหมี่            ตะหลิว           บะจ่าง            ประไหมสุหรี

     มะเดหวี          ประหนัน         ระตู               มะงุมมะงาหรา

     กะละมัง          มะกะโท          ตะเกิง            กะละแม


อะแซหวุ่นกี้      มะตะบะ         ฯลฯ







จัดทำโดย


นางสาว ภัทราภรณ์ รักนุกูล เลขที่ 16 ม.6/1





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น